หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อานิกา มอนทานา, ข้อมูลทางสมุนไพร


อานิกา มอนทานา
อานิกาเป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเนื่องจากมีสารกลุ่ม sesquiterpene lactone  แต่ก็มีสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้และเป็นอันตรายต่อเซลล์ได้. อานิกาจึงไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับรับประทาน แต่บางครั้งก็พบได้ในผลิตภัณฑ์ยาโฮมีโอพาธีย์ (ในผลิตภัณฑ์แบบนี้ไม่เหลือสารตั้งต้นอยู่แล้วจึงไม่เหลือพิษที่จะเป็นอันตราย)
ส่วนผสมของอานิกาในเครื่องสำอางค์ แชมพู หรือสบู่ อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
สปีชีส์ (วงค์)
Arnica montana L. (Asteraceae/Compositae)
ชื่ออื่นๆ
Arnicae Flos, Leopard’s Bane, Mountain Tocaco, Wolf’s Bane
ส่วนที่นำไปใช้
ดอก
สารสำคัญ
Alkaloids: มีสารที่ไม่เป็นพิษ ได้แก่ tussilagine และ isotussilagine
Amines: Beaine, choline และ tremethylamine
Carbohydrates: Mucilage, polysaccharides รวมถึง inulin
Coumarins: Scopoletin และ umbelliferone
Flavonoids: Betuletol, eupafolin, flavonol glucuronides, hispidulin, isorhamnetin, kaempferol, laciniatin, luteolin, patuletin, quercetin, spinacetin, tricin และ 3,5,7-trihydroxy-6,3o,4o-trimethoxyflavone
Terpenoids: Sesquiterpene lactones of the pseudoguaianolidetype, 0.2–0.8%.(G52) Pharmacopoeial standard not less than
0.4%, Helenalin, 11a,13-dihydrohelenalin and their esters 
with acetic, isobutyric, methacrylic, tiglic และ carboxylic acids
Diterpenes including z-labda-13-ene-8a,15-
diol.
Volatile oils: มีมากถึง 1% Thymol และ thymol derivatives
อื่นๆ: Amino acid (2-pyrrolidine acetic), bitter
principle (arnicin), caffeic acid, carotenoids, fatty acids, phytosterols,
polyacetylenes, resin, tannin
ใช้ในส่วนผสมอาหาร
อานิกาอยู่ในรายชื่อพืชที่อนุญาตให้ผสมในอาหารได้ของ Council of Europe category N2 ซึ่ง cetegory บ่งบอกว่าอานิกาสามารถใช้ใส่ลงไปในอาหารได้ในปริมาณน้อย  และก่อนหน้านี้ อานิกาก็เคยถูกองค์การอาหารและยาของอเมริการะบุว่าเป็นสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัย และจะใส่อานิกาเข้าไปได้ในอาหารกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น
การใช้เป็นสมุนไพร
กล่าวกันว่าอานิกามีฤทธิ์ต้านการระคายเคือง อานิกาเคยถูกใช้เพื่อการรักษา unbroken chilblains, alopecia neurotica, แมลงกัดต่อย, gingivitis, aphthous ulcer, อาการปวดข้อ และอาการเอ็นอักเสบและ อาการฟกช้ำ
German commission E รับรองให้ใช้อานิกาเป็นยาภายนอกได้สำหรับการบาดเจ็บและผลที่เกิดต่อเนื่องมาจากอุบัติเหตุ เช่น ห้อเลือด, อาการข้อหลุด, อาการบวมหลังกระดูกหัก, อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ, อาการอักเสบบริเวณปากและคอ, furuncolosis, อาการอักเสบที่เกิดจากแมลงกัดต่อย และ superficial phlebitis
โดยส่วนใหญ่แล้วอานิกาจะใช้ในรูปยาแบบโฮมีโอพาธีย์ มากกว่าการใช้แบบสมุนไพร






รูปที่1 Selected constituents of arnica
Dosage
คำแนะนำในการใช้อานิกาแบบภายนอกเป็นดังนี้
ทิงค์เจอร์อานิกา ใช้สำหรับทาภายนอก 2-4 มล.
รูปแบบการเตรียมเป็น ointment, ครีม, เจล ทำจาก 
5-25% v/v tincture
5-25% fluid extracts
diluted tunctures of fluid extract (1:3-1:10)
Decoction 2.0g drug/ 100ml water
การออกฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์
ในหลอดทดลองและการวิจัยในสัตว์
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ
มีรายงานว่า อานิกาสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Listeria monocytogenes และ Salmonell typhimurium ได้
สาร Helenalin และ sesquiterpenes จากอานิกามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Bacillus subtilis และ Staphylococcus aureus, Corynebacterium insidosum, Micrococcus roseus, Mycobacterium phlei, Sarcinia lutea และ Proteus vulgaris
สาร Helenalin ในอานิกามีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Trichophyton mentagrophytes, Epidermaphyton spp. และ Botrytis cinerea
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
สารกลุ่ม flavonoids 21 ชนิด และ สารกลุ่ม sesquiterpene lactones 5 ชนิด จากอานิกาได้ถูกนำมาทดลองวิจัยกับเซลล์มะเร็งปอดชนิด human small cell lung carcinoma GLC4และ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด human colorectal cancer COLO320
สาร helenalin มีค่า IC50 0.44 mmol/L ในการต้าน GLC4 และ 1.0 mmol/L ในการต้าน COLO320 หลังจากใส่ไป 2 ชั่วโมง
สารในกลุ่ม flavonoids และ flavones ในอานิกาในขนาดที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์สามารถลดพิษของ Helenalin ต่อเซลล์ได้
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ในการวิจัยแบบ carageenan rat paw model พบว่า อานิกามีฤทธิ์ต้านการอักเสบในขนาดปานกลาง (29%) โดยสาร Helenalin มีฤทธิ์หยุดยั้งการอักเสบที่มีประสิทธิภาพมากทั้งในการทดลองแบบนี้ และ chronic adjuvant arthritis ในหนูทดลอง
สาร a-methylene-glactone moiety ในกลุ่ม sesquiterpnens เป็นสารจำเป็นที่ทำให้ Helenalin ออกฤทธิ์ได้ และสาร 6-hydroxy group ช่วยใน helenalin ทำงานได้ดีขึ้น
ที่ความเข้มข้น 5_10_4 mol/L สารประกอบเหล่านี้จะแยก oxidative phosphorylation ของ human polymorphoneutrophils, ซึ่งจะทำให้ปริมาณ cyclic adenosine monophosphate (cAMP) มากขึ้นในเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ของหนู และในเซลล์ตับของ rat และ mouse และหยุดยั้งการทำงานของ free และ total lysosymal enzyme
การทำงานแบบ chemotaxis ของ Polymorphonuclear neutrophil เลือดมนุษย์จะถูกยับยั้งที่ 5_10_4 mol/L ในขณะที่กระบวนการสังเคราะห์ prostaglandin จะถูกหยุดยั้งที่ความเข้มข้น 10_3 mol/L
สาร Helenalin และ 11 a-13-dihydrohelenalin จะหยุดยั้ง collagen induced platelet aggregation, กระบวนการเกิด thromboxane และ การหลั่ง 5-hydroxytryptamin ในแบบ concentration-depentent
ฤทธิ์อื่นๆ
Helenalin  มีฤทธิ์เป็น immunostimulant ในการทดลองแบบ in vitro นอกจากนี้ยังพบว่าอานิกายังมีสารซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับ adrenaline และสารที่มีฤทธิ์ cardiotonic 
งานวิจัยทางคลินิก
งานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอานิกายังมีน้อยโดยเฉพาะงานวิจัยแบบ randomized controlled clinical trial
มีงานวิจัยที่ทำโดยการนำเอาเจลอานิกาทาที่ผิวหนังบริเวณแขนขาของอาสาสมัครผู้ชาย พบว่าสามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้มากกว่า placebo
มีงานวิจัยแบบ randomized, double-blind, placebocontrolled study ในผู้ป่วย 89 คนที่มีอาการเส้นเลือดขอด มาทาอานิกาเจล (20% tincture) หรือ placebo พบว่าการรักษาด้วยอานิกาเจลสามารถเพิ่ม venous tone, ลดอาการบวมและความรู้สึกหนักขาได้
ผลข้างเคียง หรือ พิษของอานิกา
การรับประทานอานิกาจะทำให้เกิดพิษ อานิกาจะระคายเคืองเยื่อเมือกบริเวณทางเดินอาหาร และหากกลืนกินเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนท้องเสียอย่างรุนแรง เกิดอาการกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ทำให้ชีพจรเต้นเร็วหรือช้า หัวใจสั่น หายใจสั้น และอาจทำให้ตายได้ ซึ่งเป็นผลมาจากสาร Helenalin
มีรายงานว่าสารละลาย 20% tincture ของอานิกาเพียง 30 มิลลิลิตร ก็สามารถทำให้เกิดพิษที่รุนแรงได้แต่ไม่ทำให้ถึงตาย
การใช้อานิกามาทาที่ผิวหนังก็มีรายงานว่าทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ




รูปที่ 2 ดอกของอานิกา (Arnica montana)
ข้อห้ามและคำเตือน
ไม่ควรกลืนกินอานิกาเข้าทางปาก ยกเว้นอานิกาในรูปของการเตรียมเป็นยาแบบโฮมีโอพาธีย์
สำหรับการใช้ภายนอก อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน และไม่ควรทาอานิกาในบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล และหากทาไปแล้วมีอาการแพ้ให้หยุดทาต่อทันที
อาการผื่นแพ้แบบรุนแรงอาจเกิดได้ในการใช้อานิกาแบบ tincture มาทาผิวหนัง
ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับการใช้อานิกา

ไม่มีความคิดเห็น: